โจ (ดวงฤทัย) และ แดน รูบินสเตน ได้เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ Zero-to-Hero ในประเทศไทยในปี 2559 เพื่อช่วยจัดหาเงินทุนให้กับโครงการพัฒนาด้านการศึกษาในชุมชนบ้านนายมโดยได้ลงมือทำที่ โรงเรียนบ้านหัวนา เป็นโมเดล เป้าหมายของโครงการเพื่อนำร่องคือการพยายามค้นหา "โมเดล" วิธีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของเด็กในชนบทให้มีประสิทธิภาพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 หรือยุค 4.0” ซึ่งทาง Zero-to-Hero ต้องการให้เด็กๆมีทักษะพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีคุณภาพและมีความมั่นคงด้วยทักษะที่จำเป็นดังนี้ 

          1.การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) เป็นวิธีการที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งนักเรียนจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโดยการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาปลายเปิด ปัญหานี้เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดแรงจูงใจและการเรียนรู้

          2. การเรียนรู้ตามกิจกรรม (Activity-based Active Learning ABL) การเรียนรู้นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้โดยการลงมือทำและ ประสบการณ์เข้าเล่นตามมุมที่เราเรียนกว่า HighScope นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของกิจกรรมการเรียนรู้พื้นฐานในระดับอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนอกจากนี้ยังทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็กๆเป็นหลัก พ่อแม่ /ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ที่บ้านด้วยเพื่อช่วยเสริมทักษะของเด็ก 

         3. การเรียนรู้แบบบทสนทนาระหว่างครูและนักเรียน Dialogue-based Active Learning) แนวทางการเรียนการสอนแบบบทสนทนาไม่ว่าผู้เรียนหรือครูผู้สอนต่างต้องให้ความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันโดยใช้การสื่อสารแบบเปิด จะทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นกับเนื้อหาที่กำลังเรียนรู้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการสอนและการเปิดบทสนทนาให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน 

โครงการนำร่อง โรงเรียนบ้านหัวนา 
          โรงเรียนนำร่องบ้านหัวนาได้พัฒนาเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนและดำเนินต่อไปจนถึงอายุ 15 เมื่อถึงจุดนั้นเด็กทุกคนควรเติบโตได้สมวัยและได้มาตรฐานซึ่งเราเรียกว่า ฮีโร่ ( HERO (H = Healthy, E = Experienced, R = Responsible และ O = Open-minded เด็กทุกคนจะ ผ่านโปรแกรมการเรียนรู้แบบแอคทีฟของเรา ซึ่งเราถือว่าการพัฒนาจะต้องมีการส่งต่อแบบมีคุณภาพเปรียบได้เหมือนดั่งขบวนรถไฟ 

Baby and Parent Club (0 ถึง 2 ปี) Baby and Parent Club
           มีไว้สำหรับเด็กตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะพาเด็ก ๆ มาที่ Hero Center ของเราสัปดาห์ละสองครั้งซึ่งเราจะมีการพัฒนาเด็กให้มีทักษะที่สำคัญต่อวัยของเด็กดังนี้ (ทักษะทางด้านร่างกายทักษะทางสังคม ทักษะทางอารมณ์ ทักษะการสื่อสารและทักษะการรับรู้ (สมอง)) ในขณะเดียวกันเราจะแนะนำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกับเด็กไปพร้อมกับเราเพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาและนำไปใช้ที่บ้านได้ 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหัวนาตามแนวคิดของ HighScope (2 ถึง 4 ปี) 
          ซึ่งปกติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่วนใหญ่คือการดูแลเด็ก ๆ กิน นอน เล่น ซึ่งมันไม่ใช่การพัฒนาสมอง จะเห็นได้ว่าตามหลักการพัฒนาเด็กในแนวคิดของ HighScope ของเราทำให้เราเป็นต้นแบบของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในด้านการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในการเรียนการสอนผ่านการวางแผน (Plan) การลงมือทำ (Do) และการทบทวน (Review) ทั้งสามสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของ HighScope ซึ่งจะทำให้เด็กๆได้ใช้กระบวนการเรียนรู้พัฒนาครบทุกด้านหรือที่เรียกว่า (EF) Executive Functions ซึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัยที่จะต้องเรียนรู้

 ระดับชั้นอนุบาลโรงเรียนบ้านหัวนา (4 ถึง 6 ปี) 
          เราได้ใช้การเรียนการสอนโปรแกรม Moomin English จากประเทศฟินแลนด์เป็นการเรียนภาษาอังกฤษผ่านเกมส์โดยใช้แท็บเล็ต เรียนทุกวันๆวันละ 15 นาที โปรแกรมนี้ออกแบบโดยนักการศึกษาชั้นนำของฟินแลนด์ที่พัฒนาทักษะการคิดนอกเหนือจากภาษา เราได้นำมาใช้กับเด็กๆที่โรงเรียนของเราตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 เป็นต้นมา เด็กจะได้เรียนทุกวันเพราะเราถือว่าถ้าเด็กทำเป็นกิจวัตรประจำวันทำสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กชอบภาษาอังกฤษและรู้สึกว่าภาษาอังกฤษมันไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและมันคือส่วนหนึ่งของชีวิตเขาในอนาคต ในระดับชั้นอนุบาลเราได้ใช้การเรียนการสอนในรูปแบบของ HighScope ด้วยเช่นกันเพราะส่งต่อมาจากระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำให้เด็กได้เรียนรู้แบบต่อเนื่องและต่อยอด จะเห็นได้ว่าเด็กสนุกกับการเรียนรู้และผู้ปกครองมีความพอใจเป็นอย่างมาก 

โรงเรียนบ้านหัวนา Huana (6 ถึง 12 ปี) 
          ในปี 2020 เราเริ่มหาวิธีการนำ Active Learning มาใช้กับโรงเรียนระดับชั้นประถม ความท้าทายคือการเปลี่ยนทัศนคติของครู เนื่องจากเด็กที่เข้าร่วม Baby Club ชุดแรกของเรากำลังเข้าศึกษาที่ระดับชั้นประถมปีที่ 1ของโรงเรียน เราจึงเริ่มต้นด้วยการนำแนวคิด Active Learning มาใช้เพราะเด็กๆได้เรียนรู้มาโดยตลอดระยะเวลาตั้งแต่ Baby Club ส่งต่อมาที่ ศพด. และส่งต่อมาที่อนุบาล เด็กได้เรียนรู้แบบ Active Learning มาโดยตลอดทำให้เราต้องทำการส่งต่อไประดับประถมปีที่ 1 และในเดือนพฤษภาคม 2021 เป็นต้นไปเราจะเริ่มทำ Active Learning ในระดับประถมปีที่ 2 และถ้าเป็นไปได้ภายในสิ้นปี 2023 ทั้งโรงเรียนน่าจะต้องเปลี่ยนจากห้องเรียนแบบ Passie ไปเป็น Active Learning 

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด อบจ. (12 ถึง 18) 
          โรงเรียน อบจ.ในอนาคตอยากให้เป็นโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นในเพชรบูรณ์โดยมีเป้าหมายคือนักเรียนประมาณ 800 คน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Zero-to-Hero ของเราเนื่องจากนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวนาส่วนใหญ่เรียนต่อที่นั่นตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 (อายุ 13 ปี)ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (อายุ 18 ปี)ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมาเราได้จัด Workshops 2 วันสำหรับครูในโรงเรียนกว่า 60 คนตามลำดับ เพื่อกำหนดเป้าหมายสำหรับโรงเรียนเพื่อเป็นฐานสำหรับโครงการพัฒนาในลำดับต่อไป 


          ในภาพด้านบนนักเรียนจะเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ Moomin English ของฟินแลนด์ผ่านเท็บเล็ตที่มีการสอนโดย Star Teacher คุณครู จ๊ะโอ๋ (Ja-oh) ของเรา โครงการ Zero-to-Hero ของเราในบ้านหัวนา / เพชรบูรณ์ประเทศไทยจัดขึ้นตามแนวคิดการศึกษาปฐมวัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกของฟินแลนด์ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของไทยซึ่งเรากำลังปรับแนวคิดให้เหมาะสมกับบริบทของเด็กในชนบทของไทยที่ด้อยโอกาสในหลายๆเรื่อง ถือได้ว่าการทำงานที่บ้านหัวนาเป็นห้องปฏิบัติการ การลงมือทำ ลองผิด ลองถูก ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ และตอนนี้ถือได้ว่าเราประสบผลสำเร็จและเราสามารถนำแบบโมเดลนี้ไปใช้ได้ทุกที่ในโรงเรียนที่กำลังจะพัฒนา พัฒนาการของเด็กเริ่มตั้งแต่ 3 เดือนแรกเกิด นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง หากเรามีการพัฒนาที่ถูกต้องผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูง มีสุขภาพดี มีน้ำใจ เห็นใจผู้อื่น และทำงานหรืออยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข หรือที่เราเรียกว่าฮีโร่ (HERO)ที่มีทักษะในการคิดและแก้ไขปัญหาเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัว 

 ขอขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีเสมอมาค่ะ 
 นางดวงฤทัย รูบินสเตน 
 ประธานกรรมการ
Sed pede ullamcorper amet ullamcorper primis, nam pretium suspendisse neque, a phasellus sit pulvinar vel integer.